5 นิสัยประจำวันที่จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสิ่งใดก็ได้

Reading Books

ในแต่ละวันคนเราต้องคอยรับมือกับความเครียดและความกดดันในการใช้ชีวิตมากมาย นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆจึงได้พยายามศึกษาหาวิธีการที่จะทำให้คนหนึ่งคนสามารถรับมือกับทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิตได้ ทำอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้คนหนึ่งคนกลายเป็นคนเครียด อมทุกข์ และดึงดูดสิ่งเลวร้ายเข้ามาในชีวิต ข่าวดีก็คือเมื่อคุณทำกิจกรรมดังต่อไปนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตและเปลี่ยนนิสัยให้เป็นคนเข็มแข็งมีความสุขมากยิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอน

บางคนอาจจะเถียงว่าคนอื่นทำได้แต่ฉันทำไม่ได้นี่ ก็จะขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายเช่น โลกนี้มีคนคุมโปรเจคระดับ 10 – 1,000ล้าน , มีดาราตั้งแต่ระดับธรรมดาไปจนถึงระดับตัวพ่อตัวแม่ , มีนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาหรือต้องพยายามค้นหาคำตอบในเรื่องต่างๆอยู่มากมายหลายคน ถามว่าพวกเขาจำเป็นต้องเครียดและกดดันจนนอนไม่หลับหรือชีวิตไม่มีความสุขกันหมดทุกคนรึปล่าว ก็ไม่ ใช่มั๊ยละ เพียงแต่ถ้าคนไหนเป็นคนคิดลบหรือทำอะไรด้านลบเราจะได้เห็นว่าชีวิตเขาไม่อยู่สุขเลย

ดังนั้นสาเหตุที่คนเราควบคุมอารมณ์หรือความกดดันในชีวิตกันไม่ได้ มันไม่ได้มาจากภาระหรือปัญหาที่เรามีหรอก เพราะคนที่เขาต้องคุมโปรเจคระดับหนึ่งพันล้านที่กลับบ้านไปนอนหลับได้อย่างสบายโดยไม่เครียดไม่กังวลน่ะมันมีอยู่เยอะแยะ สิ่งสำคัญมันอยู่ที่พฤติกรรมและความคิดด้านบวกต่างหากล่ะที่เป็นตัวสร้างพลังให้กับคนเรา

1.การทำสมาธิ

การฝึกทำสมาธิมันไม่ได้ยากอะไรเลยและไม่ต้องลงทุนอะไรเลยด้วย เราอาจจะแค่ต้องดูตัวอย่างของการฝีกสมาธิที่ถูกวิธีจากเว็บไซต์วีดีโอออนไลน์ต่างๆ และบังคับตัวเองให้ทำสมาธิทุกวันจนกลายเป็นนิสัย

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบประโยชน์จากการฝึกทำสมาธิเป็นประจำดังนี้คือ ลดความเครียด , ในระยะยาวสมองส่วนสีเท่าจะใหญ่ขึ้นทำให้เราชนะความกลัวและความกังวลได้ง่าย , เพิ่มระดับความเคารพตัวเอง , ลดระดับอาการซึมเศร้า , ลดความดันและช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

การฝึกสมาธิถือว่าเป็นเครื่องมือในการอยู่รอดในสังคมที่มีความกดดัน หรือมีไว้สำหรับคนที่ต้องทำอะไรที่มักสร้างความรู้สึกกดดันหรือประหม่าง่าย เช่น อาชีพนักกีฬา , นักพูด นักขาย เป็นต้น ในระยะยาวจะช่วบให้ควบคุมอารมณ์และมองสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีเหตุมีผล

2.การฝึกลมหายใจ (Breathing exercises)

ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับใครหลายคนในตอนนี้เลย แต่ถ้าทำควบคู่กับการทำสมาธิจะได้ประโยชน์แบบสุดๆไปเลย โดยเราจะทำพร้อมกับการทำสมาธิหรือจะทำแยกกันเป็นคนละกิจกรรมไปเลยก็ได้ที่สำคัญเลยคือเราสามารถฝึกลมหายใจได้ตลอดทั้งวันไม่ว่าจะกำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม

การฝึกลมหายใจช่วยทำกล้ามเนื้อของเราผ่อนคลาย , ลดความดันโลหิต , ร่างกายหลั่งเอ็นโดรฟินและช่วยในการบรรเทาความเครียดและความวิตกกังวล

3.การอ่านหนังสือ

ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่ไม่ค่อยอ่านหนังสืออันที่จริงคนทั้งโลกก็ไม่ค่อยจะอ่านหนังสือกันเพียงแต่มีจำนวนที่แตกต่างกันไปเท่านั้นเอง การอ่านหนังสือสามารถลดความเครียดได้อย่างมากแน่นอน เพียงแค่เปิดหนังสือที่เราชอบอ่านใจเราก็จะได้อยู่ที่อื่นไม่ได้ไปจดจ่อกับปัญหา มหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ค้นพบว่าการอ่านหนังสืออย่างน้อยวันละ 6 นาที จะลดความเครียดได้ 68% และเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกและไวกว่าวิธีการอื่นมากๆ

4.การพูดคุยปรับทุกกับเพื่อนฝูงและญาติสนิท

ในยามที่เรารู้สึกไม่ดีหรือกลัดกลุ้มใจการปรึกษาหรือระบายความในใจเป็นหนึ่งในวิธีลดความเครียดที่ได้ผล มันเป็นเรื่องปกติที่คนเราอยากได้รับความรู้สึกเป็นที่ต้องการ อยากได้รับความรัก ความเป็นห่วงจากผู้อื่นซึ่งมันเยียวยาจิตใจได้เหมือนกับการได้ชาร์จพลังใหม่

5.เขียนรายชื่อสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกขอบคุณหรือรู้สึกดี

คนเราคิดอย่างไรก็ได้อย่างนั้น การเขียนรายชื่อสิ่งที่เรารู้สึกขอบคุณหรือสำนึกในบุญคุณจนเป็นนิสัยจะช่วยดึงดูดสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตมากขึ้นไปอีกถ้าทำอย่างต่อเนื่องได้จะดีมากๆ แล้วจะได้รู้สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกขอบคุณหรือรู้สึกดีในชีวิตนี้มีอยู่มากมาย เช่น พ่อแม่ , ครอบครัว , สัตว์เลี้ยง , หนังสือ , สายลมแสงแดด , บ้าน , ของกินที่ชอบ , ละครหรือภาพยนต์ที่ชอบ , ฤดูที่ชอบ

อะไรก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกดีให้เอามาเขียนลงในหน้ากระดาษทั้งหมด หรือจะพิมพ์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้ แล้วคุณจะพบว่าพอเขียนไปเรื่อยๆไม่หยุด จะพบว่าในชีวิตนี้คุณมีสิ่งที่คุณชอบ สิ่งที่คุณรู้สึกชอบคุณ อยู่หลายร้อยอย่างเลยทีเดียว มันดีต่อสุขภาพจิตมากและมันจะดึงดูดสิ่งดีๆ โชคและเหตุการณ์ดีๆเข้าหาตัวคุณอีกด้วย ควรทำกิจกรรมนี้ “ทุกวัน” ไปเลยแล้วอย่าลืมเลิกคิดถึงสิ่งที่คุณไม่ชอบ และคอยดูความเปลี่ยนแปลงของชีวิตภายใน 2 เดือน “กฏแห่งการดึงดูดมีอยู่จริงๆ” เราท้าให้ลองด้วยตัวท่านเอง

นอกจากนี้การเขียนรายชื่อสิ่งที่ทำให้รู้สึกขอบคุณหรือรู้สึกดียังช่วยลดระดับอาการซึมเศร้าได้ 35% , สามารถเพิ่มคุณภาพการนอนหลับอีก 25% , ลดอาการเจ็บปวดทางกาย 10% , เพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายได้ 19% และลดโอกาสมีอาการทางจิตทุกรูปแบบน้อยลง 16%